เมนู

[1098] พราหมณ์เห็นชะมดทั้งหลายไปแล้ว และ
แพะทั้งหลายถึงความวิบัติแล้ว ก็ซูบผอมมีผิว
พรรณซีด และเป็นโรคผอมเหลือง.
[1099] ผู้ใดละทิ้งคนของตน ทำคนที่มาใหม่ให้
เป็นที่รักอย่างนี้ ผู้นั้นคนเดียวจะเศร้าโศกมาก
เหมือนพราหมณ์ธูมการีเศร้าโศกอยู่ฉะนั้น

จบ ธนูการิชาดกที่ 8

อรรถกถาธูมการิชาดกที่ 8



พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
การทรงสงเคราะห์อาคันตุกะของพระเจ้าโกศลแล้ว จึงตรัสเรื่องนี้มีคำ
เริ่มต้นว่า ราชา อปุจฺฉิ วิธูรํ ดังนี้.
ได้ยินว่า สมัยหนึ่งพระเจ้าโกศลนั้น ไม่ได้ทรงสงเคราะห์ทหาร
เก่าที่มาเฝ้าตามประเพณี แต่ได้ทรงทำสักการะสัมมานะ แก่ทหารผู้เข้า
มาใหม่ ๆ ยังเป็นแขก ภายหลังเมื่อพระองค์เสด็จไปเพื่อทรงปราบปัจ-
จันตชนบทที่ก่อการร้าย ทหารเก่าก็ไม่สู้รบโดยคิดว่า ทหารใหม่ที่เป็น
แขกผู้ได้สักการะจักสู้รบ ส่วนทหารใหม่ที่เป็นแขกก็ไม่สู้รบโดยคิดว่า
ทหารเก่าจักสู้รบ. โจรเลยชนะพระราชา. พระราชาทรงปราชัยแล้ว
ทรงทราบความที่ตนปราชัย เพราะโทษคือการทรงสงเคราะห์ทหารใหม่
ที่เป็นแขก เสด็จกลับพระนครสาวัตถี ทรงดำริว่า เราคนเดียว

หรืออย่างไรทำอย่างนี้แล้วแพ้ หรือว่าพระราชาแม้เหล่าอื่น ก็เคยแพ้
ดังนี้ เสวยพระกระยาหารเช้าแล้วเสด็จไปยังพระเชตวัน ถวายนมัส-
การพระศาสดาแล้ว จึงทูลถามข้อความนั้น. พระศาสดาตรัสตอบว่า
ขอถวายพระพรมหาบพิตรมหาราช ใช่จะมีแต่มหาบพิตรพระองค์เดียว
เท่านั้นก็หาไม่ แม้พระราชาในสมัยโบราณ ทรงทำการสงเคราะห์ทหาร
ใหม่ ผู้เป็นแขกแล้วทรงปราชัยก็มี เป็นผู้อันพระราชาทูลอ้อนวอนแล้ว
ได้ทรงน้ำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล พระเจ้าโกรัพยะทรงพระนามว่า ธนญชัย ยุธิฏ-
ฐิลโคตร เสวยราชสมบัติในอินทปัตถนครในแคว้นกุรุ. ครั้งนั้น พระ-
โพธิสัตว์ถือกำเนิดในตระกูลปุโรหิตของพระเจ้าธนญชัย เติบใหญ่แล้ว
ได้รับการศึกษาศิลปทุกชนิดที่เมืองตักกศิลา กลับมาที่อินทปัตถนครแล้ว
ได้รับตำแหน่งปุโรหิตเป็นผู้ถวายอรรถธรรมแด่พระราชา แทนบิดาที่
ล่วงลับไปแล้ว. คนทั้งหลายได้ขนานนามท่านว่าวิธูรบัณฑิต. ครั้งนั้น
พระเจ้าธนญชัย ไม่ทรงคำนึงถึงทหารเก่า ได้ทรงทำการสงเคราะห์ทหาร
ที่เป็นแขกใหม่เท่านั้น. เมื่อพระองค์เสด็จไปปราบปัจจันตชนบทที่ก่อ
การร้าย ทหารเก่าไม่รบโดยคิดว่า ทหารใหม่ที่เป็นแขกจักรู้หน้าที่.
ทหารใหม่ที่เป็นแขกก็ไม่รบโดยคิดว่า ทหารเก่าจักรู้หน้าที่ ตกลงว่า
ทั้งทหารเก่าทั้งทหารใหม่ไม่รบเลย. พระราชาทรงปราชัยแล้ว เสด็จกลับ
อินทปัตถนครทันที ทรงดำริว่า เราปราชัยเพราะเราทำการสงเคราะห์
ทหารใหม่ที่เป็นแขก. อยู่มาวันหนึ่งพระองค์ทรงดำริว่า เราจักถาม

วิธูรบัณฑิตว่า มีเราคนเดียวหรืออย่างไร ทำการสงเคราะห์ทหารใหม่ที่
เป็นแขกแล้วปราชัย หรือพระราชาแม้องค์อื่น ๆ ที่เคยปราชัยมาแล้ว
ก็มี แล้วตรัสถามข้อความนั้น กะวิธูรบัณฑิตผู้มาถึงที่เฝ้าพระราชาแล้ว
นั่ง. จึงพระศาสดาเมื่อจะทรงไขอาการที่ตรัสถามของพระราชานั้น ให้
แจ้งชัด ได้ตรัสกึ่งคาถาว่า :-
พระเจ้ายุธิฏฐิละผู้ทรงใคร่ในธรรม ได้
ตรัสถามวิธูรบัณฑิตแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺมกาโม ได้แก่ ทรงมีสุจริต
ธรรมเป็นที่รัก.
ดูก่อนพราหมณ์ ท่านรู้บ้างไหม ? ใคร
คน 1 กำลังเศร้าโศกมาก.

ส่วนกึ่งคาถาที่เหลือมีเนื้อความดังต่อไป ดูก่อนพราหมณ์
ธรรมดาท่านรู้บ้างไหม ว่าใครคน 1 ในโลกนี้เศร้าโศกมาก คือเศร้า
โศกโดยอาการต่าง ๆ.
พระโพธิสัตว์ครั้นสดับคำนั้นแล้ว เมื่อทรงนำอุทาหรณ์นี้มาแสดง
ว่า ข้าแต่มหาราช ความโศกของพระองค์ ชื่อว่าเป็นความโศกหรือ
ในกาลก่อนพราหมณ์เลี้ยงแพะคน 1 ชื่อว่าธูมการี ต้อนแพะฝูงใหญ่
ไปทีเดียวสร้างคอกไว้ในป่า พักแพะไว้ในคอกนั้น ก่อไฟและควันปฏิ-
บัติฝูงแพะบริโภคนมเป็นต้นพักอยู่. แล้วเขาเห็นชะมดทั้งหลายที่มา ณ

ที่นั้นมีสีเหมือนสีทองแล้วทำความเสน่หาในชะมดเหล่านั้น กระทำ
สักการะแพะให้แก่ชะมดทั้งหลายโดยไม่คำนึงแพะ เมื่อเหล่าชะมดหนีไป
ป่าหิมพานต์ในสารทกาล และเมื่อแพะทั้งหลายหายไปแล้วไม่เห็นชะมด
จึงเป็นโรคผอมเหลือง เพราะความโศกถึงความสิ้นชีวิตแล้ว. พราหมณ์
คนนี้ทำการสงเคราะห์สัตว์ที่จรมา จึงเศร้าโศกลำบากถึงความพินาศ
มากกว่าพระองค์ร้อยเท่าพันเท่า ดังนี้ จึงได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า :-
พราหมณ์วาเสฏฐะผู้มีฟืนมากอยู่ในป่า
กับฝูงแพะไม่เฉื่อยชา ได้ก่อไฟให้เกิดควัน
ทั้งกลางคืนทั้งกลางวัน. ชะมดทั้งหลายถูกยุง
รบกวน ได้พากันเข้าไปอาศัยอยู่ในสำนักของ
พราหมณ์นั้นตลอดฤดูฝน เพราะกลิ่นควันนั้น.
พราหมณ์นั้นเอาใจใส่ชะมด ไม่เอาใจใส่แพะ
ทั้งหลายว่า จะมาเข้าคอกหรือจะไปป่า แพะ
เหล่านั้นของเขาจึงหายไปแล้ว. แต่ในสารทกาล
ในป่าที่ยุงซาลงแล้ว ชะมดทั้งหลายก็ไปสู่ยอด
เขาและที่ที่เป็นต้นน้ำลำธาร. พราหมณ์เห็น
ชะมดทั้งหลายไปแล้ว และแพะทั้งหลายถึง
ความวิบัติแล้ว ก็ซูบผอมมีผิวพรรณซีด และ

เป็นโรคผอมเหลือง. ผู้ใดละทิ้งคนของตน ทำ
คนที่มารหมู่ให้เป็นที่รักอย่างนี้ ผู้นั้นคนเดียว
จะเศร้าโศกมาก เหมือนพราหมณ์ธูมการีเศร้า
โศกอยู่ฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พหุเตนฺโท ความว่า ผู้มีเชื้อเพลิง
เพียงพอ. บทว่า ธูมํ อกาสิ ความว่า ได้ก่อขึ้นทั้งไฟทั้งควัน เพื่อ
ประโยชน์แก่การนำไปซึ่งอันตรายคือแมลงวัน. คำว่า วาเสฏฺโฐ เป็น
โคตร คือนามสกุลของเขา. บทว่า อตนฺทิโต ได้แก่เป็นผู้ไม่เกียจคร้าน
บทว่า ตํธูมคนฺเธน ความว่า เพราะกลิ่นควันนั้น. บทว่า สรภา ได้แก่
มฤคคือชะมด. บทว่า มกสทฺทิตา ความว่า ถูกยุงทั้งหลายรบกวน
คือเบียดเบียนแล้ว. แม้แมลงวันที่เหลือก็เป็นอันถือเอาแล้วด้วย มกส
ศัพท์นั่นเอง. บทว่า วสฺสาวาสํ ความว่า อยู่แล้วตลอดราตรีแห่งกาล
ฝน ในสำนักของพราหมณ์นั้น. บทว่า มนํ กตฺวา ความว่า ให้เกิด
ความเสน่หาขึ้น. บทว่า นาวพุชฺฌถ ความว่า ไม่รู้ว่าแพะทั้งหลาย
ออกจากป่ากำลังมาเข้าคอก ออกจากคอกกำลังไปป่า และมาแล้วจำนวน
เท่านี้ ยังไม่มาจำนวนเท่านี้. บทว่า ตสฺส ตา วิน สุํ ความว่า เมื่อ
เขาไม่ได้ตรวจตราดูแพะเหล่านั้นอยู่อย่างนี้ แพะทั้งหลาย ที่เขาไม่ได้
รักษาอยู่จากอันตรายมีสิงห์โตเป็นต้น พินาศไปแล้วเพราะอันตรายมี
สิงห์โตเป็นต้น หรือแพะทั้งหมดพินาศไปแล้ว. บทว่า นทีนํ ปภวานิ จ
ความว่า เข้าไปแล้วสู่ที่เป็นที่แรกเกิดของแม่น้ำทั้งหลายที่เกิดแต่ภูเขา

ด้วย. บทว่า วิภวํ ได้แก่ความไม่เจริญเห็น คือรู้แพะทั้งหลายที่ถึงความ
พินาศแล้ว. บทว่า กีโสจวิวณฺโณ ความว่า พราหมณ์ละทิ้งแพะ
ทั้งที่ให้น้ำนมเป็นต้น แล้วสงเคราะห์ชะมดทั้งหลาย เมื่อไม่เห็นสัตว์
ทั้ง 2 ชนิดนั้น ก็เป็นผู้เสื่อมจากสัตว์ทั้ง 2 พวก ถูกความโศกครอบงำ
แล้วจึงได้เป็นคนซูบผอมและมีผิวพรรณซูบซีด. บทว่า เอวํ โย สนฺนิรงฺ
กตฺวา
ความว่า เมื่อเป็นอย่างนี้นั้นแหละ ผู้ใดนำคนภายในของตน
ซึ่งเป็นคนเก่าแก่ออกไป คือละทิ้งแล้วทำความรักใคร่คนที่มาใหม่ โดย
ไม่คำนึงถึงใคร ๆ อีกเลย ผู้นั้นเป็นคนเดียวเช่นกับพระองค์ย่อมเศร้า
โศกมาก เหมือนพราหมณ์ธูมการีที่ข้าพระองค์ ทูลแสดงถวายพระองค์
แล้วฉะนั้น.
พระมหาสัตว์ ทูลพระราชาให้ทรงรู้สึกพระองค์อย่างนี้แล้ว. ฝ่าย
พระราชาทรงทำความรู้สึกพระองค์แล้ว ทรงเลื่อมใสแล้วได้พระราช-
ทานทรัพย์จำนวนมากแก่พระโพธิสัตว์นั้น. จำเดิมแต่นั้นมา พระองค์
ก็ทรงทำการสงเคราะห์คนภายในอยู่เท่านั้น ทรงบำเพ็ญบุญทั้งหลายมี
ทานเป็นต้นแล้ว ได้ทรงเป็นผู้มีสวรรค์เป็นที่ไปในภายภาคหน้า.
พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม
ชาดกไว้ว่า พระเจ้าโกรัพยะในครั้งนั้น ได้แก่พระอานนท์ ในบัดนี้
พราหมณ์ธูมการี ได้แก่ พระเจ้าปเสนทิโกศล ส่วนวิธูรบัณฑิต ได้แก่
เราตถาคต ฉะนั้นแล.
จบ อรรถกถาธูมการิชาดกที่ 8

9. ชาครชาดก



ว่าด้วยผู้หลับและผู้ตื่น



[1100] เมื่อคนทั้งหลายในโลกนี้ตื่นอยู่ ใคร
เป็นผู้หลับแล้ว แต่เมื่อคนทั้งหลายในโลกนี้
หลับแล้ว ใครเป็นผู้ตื่น ใครเข้าใจปัญหา
ข้อนี้ของเรา ใครจะแก้ปัญหาข้อนี้ของเรา
ได้.
[1101] เมื่อพระอริยเจ้าทั้งหลายตื่นอยู่ ข้าพเจ้า
เป็นผู้หลับแล้ว แต่เมื่อคนทั้งหลายหลับแล้ว
ข้าพเจ้าเป็นผู้ตื่น ข้าพเจ้าเข้าใจปัญหาข้อนั้น
ข้าพเจ้าจะแก้ปัญหาของท่านได้.
[1102] เมื่อคนทั้งหลายตื่นอยู่ ท่านจะเป็นผู้
หลับได้อย่างไร เมื่อคนทั้งหลายหลับแล้ว
ท่านจะเป็นผู้ตื่นได้อย่างไร ท่านเข้าใจปัญหา
ข้อนี้อย่างไร ท่านจะแก้ปัญหาของข้าพเจ้า
อย่างไร ?